Monday, May 21, 2007

การพบเห็นสมณะเป็นมงคลอันสูงสุด

  • ข้อนี้เรามักเตือนตนเองอยู่เสมออยู่แล้ว และมักเตือนคนอื่นเท่าที่เตือนได้และเขาสนใจจะฟังด้วย
  • มีตัวอย่างให้เห็นประจักษ์สด ๆ ร้อน ๆ ก็คือเมื่อวานนี้ได้ไปกราบท่านว.วชิรเมธี และได้ถือโอกาสเรียนถามสิ่งที่อยากถามมานานและไม่ได้มีโอกาสถามสักที เพราะว่าลืมไปบ้าง โอกาสไม่มี หรือ ไม่เหมาะบ้าง ก็คือ พระพุทธพจน์ที่ว่า "วันคืนล่วงไป ๆ เรากำลังทำอะไรอยู่" นั้น มาจากตรงไหน เพราะว่าจับใจเราเหลือเกิน มากที่สุดบทหนึ่งก็ว่าได้
  • เรียกได้ว่าถามถูกคน เพราะท่านก็ไปค้นมาให้ทันที แถมไฮไลท์ให้อีกด้วย วันนี้เลยถือโอกาสไปค้นเพิ่มเติมในส่วนอรรถกถา แล้วนำมาแปะตรงนี้ เป็นที่เตือนใจตนเอง และยามว่าง(ราวกับว่าจะมี) จะได้แวะมาอ่านบ่อย ๆ ให้ชื่นใจ และเตือนใจตนเอง
  • ที่มา: http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=48

--------------------------

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อักโกสวรรคที่ ๕
๘. อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
อรรถกถาอภิณปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘ อภิณปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปพฺพชิเตน ได้แก่ ผู้ละฆราวาส การครองเรือนเข้าถึงการบวชในพระศาสนา.

บทว่า อภิณฺหํ แปลว่า เนืองๆ บ่อยๆ.

บทว่า ปจฺจเวกฺขิตพฺพา แปลว่า พึงสำรวจดู พึงกำหนดคู.

บทว่า เววณฺณิยํ แปลว่า ความมีเพศต่าง ความมีรูปต่างๆ ก็ความมีเพศต่างนั้นมี ๒ อย่าง คือ ความมีเพศต่างโดยสรีระ ๑ ความมีเพศต่างโดยบริวาร ๑.

บรรดาความมีเพศต่าง ๒ อย่างนั้น ความมีเพศต่างโดยสรีระ พึงทราบได้ด้วยการปลงผมและหนวด. ก็ก่อนบวช แม้นุ่งผ้าก็ต้องใช้ผ้าดีเนื้อละเอียด ย้อมสีต่างๆ แม้บริโภคก็ต้องกินรสอร่อยต่างๆ ใส่ภาชนะทองและเงิน แม้นอนนั่งก็ต้องที่นอนที่นั่งอย่างดีในห้องสง่างาม แม้ประกอบยาก็ต้องใช้เนยใส เนยข้นเป็นต้น ตั้งแต่บวชแล้ว จำต้องนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาด จำต้องฉันแต่ข้าวคลุกในบาตรเหล็กหรือบาตรดิน จำต้องนอนแต่บนเตียงลาดด้วยหญ้าเป็นต้น ในเสนาสนะมีโคนไม้เป็นอาทิ จำต้องนั่งบนท่อนหนังและเสื่อลำแพนเป็นต้น จำต้องประกอบยาด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นต้น. พึงทราบความมีเพศต่างโดยบริขารในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมละโกปะ ความขัดใจ และมานะ ความถือตัวเสียได้.

บทว่า ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกา ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย ๔ จำต้องเกี่ยวเนื่องในผู้อื่น อิริยาบถก็สมควร อาชีวะการเลี้ยงชีพก็บริสุทธิ์ ทั้งเป็นอันเคารพยำเกรงบิณฑบาต ชื่อว่าเป็นผู้บริโภคไม่พิจารณาในปัจจัย ๔ ก็หามิได้.

บทว่า อญฺโญ เม อากกฺโป กรณีโย ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณาว่า อากัปกิริยาเดินอันใดของเหล่าคฤหัสถ์ คือย่างก้าวไม่กำหนด โดยอาการยืดอกคอตั้งอย่างสง่างาม เราพึงทำอากัปกิริยาต่างไปจากอากัปกิริยาของคฤหัสถ์นั้น เราพึงมีอินทรีย์สงบมีใจสงบ มองชั่วแอก ย่างก้าวกำหนดแต่น้อย [ไม่ย่างก้าวยาว] พึงเดินไปเหมือนนำเกวียนบรรทุกน้ำไปในที่ขรุขระ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมมีอากัปกิริยาสมควร สิกขา ๓ ย่อมบริบูรณ์.

ศัพท์ว่า กจฺจิ นุ โข รวมนิบาตลงในความกำหนด.

บทว่า อตฺตา ได้แก่ จิต.

บทว่า สีลโต น อุปวทติ ได้แก่ ไม่ตำหนิตนเองเพราะศีลเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่าศีลของเราไม่บริบูรณ์. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมตั้งหิริความละอายขึ้นภายใน. หิรินั้นก็ให้สำเร็จความสำรวมในทวารทั้ง ๓. ความสำรวมในทวารทั้ง ๓ ย่อมเป็นจตุปาริสุทธิศีล บรรพชิตผู้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้.

บทว่า อนุวิจฺจ วิญฺญู สพฺรหฺมจารี ความว่า เหล่าสพรหมจารีผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกับผู้เป็นบัณฑิต พิจารณาใคร่ครวญแล้ว. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาปภายนอก ย่อมตั้งขึ้น. โอตตัปปะนั้นย่อมให้สำเร็จความสำรวมในทวารทั้ง ๓. ดังนั้น จึงควรทราบโดยนัยในลำดับถัดมานั้นแล.

บทว่า นานาภาโว วินาภาโว ความว่า ความเป็นต่างๆ เพราะเกิดมา ความพลัดพราก เพราะมรณะ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าไม่มีอาการคือประมาทในทวารทั้ง ๓. มรณัสสติ ความระลึกถึงความตาย ก็เป็นอันตั้งลงด้วยดี.

ในบทว่า กมฺมสฺสโกมฺหิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. กรรมเป็นของเรา คือเป็นสมบัติของตน เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีกรรมเป็นของของเรา. ผลที่กรรมพึงให้ ชื่อว่าผลทายะ ผลแห่งกรรม ชื่อว่ากรรมทายะ ผลแห่งกรรม เราย่อมรับผลแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้รับผลแห่งกรรม. กรรมเป็นกำเนิด คือเหตุของเรา เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นญาติของเรา เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. กรรมเป็นที่พึ่งอาศัยของเรา เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.

บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ ได้แก่ เราจักเป็นทายาท คือเป็นผู้รับผลที่กรรมนั้นให้แล้ว. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาถึงความที่เรามีกรรมเป็นของของตนอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่ากระทำบาป.

บทว่า กถมฺภูตสฺส เม รตฺตินฺทิวา วีติปตนฺติ ความว่า คืนวันล่วงไป เปลี่ยนแปลงไป เราเป็นอย่างไร คือเรากำลังทำวัตรปฏิบัติอยู่หรือๆ ว่าไม่ทำ ท่องบ่นพระพุทธวจนะอยู่หรือๆ ว่าไม่ท่องบ่น กำลังทำกิจกรรมในโยนิโสมนสการอยู่หรือๆ ว่าไม่ทำ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ความไม่ประมาทย่อมบริบูรณ์.

บทว่า สุญฺญาคาเร อภิรมามิ ความว่า เราแต่ผู้เดียวอยู่ในทุกอิริยาบถ ในโอกาสอันสงัด ยังยินดียิ่งอยู่หรือหนอ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ กายวิเวกย่อมบริบูรณ์.

บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ความว่า ธรรมทั้งหลายมีฌานเป็นต้นของท่านผู้ได้ฌาน และพระอริยะผู้เป็นมนุษย์ที่ยิ่ง เป็นมนุษย์ชั้นอุกฤษฏ์หรือธรรมทั้งหลายที่ยิ่งยวดที่ประเสริฐกว่ามนุษยธรรมกล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ มีอยู่ คือเป็นอยู่ในสันดานของเราหรือ.

บทว่า อลมริยญาณทสฺสนวิเสโส ความว่า ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่าให้เกิดมหัคตปัญญาและโลกุตรปัญญา. ชื่อว่าทัสสนะ เพราะอรรถว่าเห็นธรรมโดยทำให้ประจักษ์เหมือนดังเห็นด้วยจักษุ เหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณทัสสนะ. ญาณทัสสนะอันเป็นอริยะ คือบริสุทธิ์สูงสุด เหตุนั้น จึงชื่อว่าอริยญาณทัสสนะ. อริยญาณทัสสนะอันอาจคือเป็นอริยะสามารถกำจัดกิเลส มีอยู่ในธรรมนั้น หรือแก่ธรรมนั้น เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่าอลมริยญาณทัสสนะ ได้แก่ธรรมของมนุษย์ผู้ยิ่ง ต่างโดยฌานเป็นต้น. อลมริยญาณทัสสนะนั้นด้วย วิเศษด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่าอลมริยญาณทัสสนวิเสส. อีกนัยหนึ่ง คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะอันบริสุทธิ์ สามารถกำจัดกิเลสได้นั้นนั่นเอง เหตุนั้น จึงชื่อว่าอลมริยญาณทัสสนวิเสส ก็ได้.

บทว่า อธิคโต ได้แก่ ความวิเศษที่เราได้ไว้แล้วมีอยู่หรือหนอ.

บทว่า โสหํ ได้แก่ เรานั้นมีคุณวิเศษอันได้ไว้แล้ว.

บทว่า ปจฺฉิเม กาเล ได้แก่ ในเวลานอนบนเตียงสำหรับตาย.

บทว่า ปุฎฺโฐ ได้แก่ ถูกเพื่อนสพรหมจารีถามถึงคุณวิเศษที่บรรลุ.

บทว่า น มงฺกุ ภวิสฺสามิ ได้แก่ เราจักไม่เป็นผู้คอตก หมดอำนาจ.

ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าตายเปล่า.
จบอรรถกถาอภิณปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘

Sunday, May 20, 2007

New Inspiration


The World in Gold
Originally uploaded by luckybird_darkhorse.

วันนี้ไปกราบท่านว.วชิรเมธีมา ได้ไปถวายจตุปัจจัยและเครื่องไทยทานต่าง ๆ พอสมควร และโอสถด้วย เพราะท่านอาพาธ ไอค้อกแค้ก ขอให้ทุก ๆ ท่านที่เข้ามาอ่านได้บุญไปโดยทั่วกัน

ได้กำลังใจ ได้โปรเจ็คท์ใหม่มาทำ (ราวกับว่าว่างมาก) แต่ดีแล้ว เพราะต้องให้รู้สึกว่าทำอะไรไม่ทัน มีไฟลนก้น แล้วจะทำงานได้ ดูเหมือนจะเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง


เลยรู้สึกอยากแปะรูปเห็นแสงสีทองผ่องอำไพ ชีวิตค่อยดูมีความหวังรำไร ๆ ดังนี้

ขอขอบคุณเจ้าของภาพ จาก flickr

Thursday, May 17, 2007

003 โดยปรมัตถ์ ธาตุ ๔ ก็ไม่ควรยืดถือ

Source: http://www.84000.org/true/003.html


ปัญหา: การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงเรื่องธาตุ ๔ นั้น พระองค์ทรงเชื่อว่ามีธาตุ ๔ จริง ๆ หรือเพราะทรงเรียกตามโวหารโลกที่คนเข้าใจกันอยู่ในสมัยนั้น ? มีพระพุทธพจน์ตอนไหนบ้างที่แสดง ธาตุ ๔ เป็นแต่สิ่งสมมติ ?

พุทธดำรัสตอบ:
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมรู้ธาตุดิน .... ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ย่อมรู้ธาตุไฟ ...
ย่อมรู้ธาตุลม...โดยความเป็นธาตุลม

ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว
ย่อมสำคัญหมายธาตุลม
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม
ย่อมสำคัญหมายธาตุลมว่าเป็นของเรา
ย่อมยินดีธาตุลม

ข้อนั้นเพราะอะไร

เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ...
ภิกษุใดเป็นอรหันต์ขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจแล้ว
ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน....
ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำ ...
ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟ...
ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลม....

ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว
ย่อมสำคัญหมายธาตุลม
ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม
ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุลมว่าเป็นของเรา
ย่อมไม่ยินดีในธาตุลม

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเธอกำหนดรู้แล้วฯ”

มูลปริยายสูตร มู. ม. (๒)
ตบ. ๑๒ : ๑-๒ ตท. ๑๒ : ๑-๒
ตอ. MLS. I : ๓-๔


---------------------

ในส่วนนี้ ในฐานะคนที่พอจะปฏิบัติธรรมมาบ้าง คิดว่าพอจะเข้าใจนิดหน่อย ถึงแม้จะเป็นแค่ในขั้นกึ่งคิด กึ่งนึก แต่ก็พอนึกแล้ว ก็ให้อัศจรรย์ใจในคำตอบของพระพุทธเจ้ามาก เพราะการที่จะเข้าไป "กำหนดรู้" ได้นั้นไม่ง่ายเลย แต่ถ้าพอทำได้บ้างแล้วนั้น ก็จะเป็นประมาณอย่างที่ท่านว่าจริง ๆ อย่างน้อยก็สองข้อหลัง คือ ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุลมว่าเป็นของเรา และ ย่อมไม่ยินดีในธาตุลม นั้น การเจริญสติวิปัสสนาในคอร์ส ๗ วันนั้น ทำให้เข้าใจตรงนั้ชัดมาก

อนึ่ง ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้น รวมเรียกว่า มหาภูติรูป ถ้าจะฝึกวิปัสสนา จะเห็นชัดอยู่ในฐานธรรมานุปัสสนา แต่เวลาทำจริง ๆ นั้นไม่จำเป็นต้องไปต้องว่าตอนนี้กำหนด "ฐานไหน" เพียงแต่ให้รู้ว่าตอนนี้มีอะไรมากระทบกายและใจ อย่างไร ให้เท่าทันปัจจุบัน และไม่ต้่องมีอะไรมาปรุงแต่ง และกำหนดแล้วก็ปล่อยทิ้ง ไม่หน่วงเหนี่ยวเคล้ัาคลึงอารมณ์ให้มันหลุดปัจจุบันก็พอแล้ว


Tuesday, May 15, 2007

Inspiring Moments


Acompañado de su sombra...
Originally uploaded by Cloe007.
I'm a visually-stimulated person, meaning when I see something inspiring, my thoughts flow.

Sometimes it's good, if your job needs something creative.

Sometimes it can come in handy, if you need to be reflective, or even contemplative.

This photo, for example, makes me feel very curious, I have this uncontrollable urge to go stand where that man is and look beyond and below.

I want to "see."

Even if I'm not there yet, I start to visualize already what I may see there.

See, this is the problem of someone whose mind is accustomed to working all the time.

Because in terms of mindfulness meditation, one should try to live as much as possible in the present, and just "observe" without judgement, without guessing what might happen, etc.

If one continues to observe accurately, one would get Enlighten.

And I believe if one does, the light at the end of the tunnel would become even more appealing that the one seen in this pix.

But then, as you can see, I'm already falling into the trap of "guessing" into the "future" again!

Now you see how difficult it is to stay constantly mindful in the present.

Try.

Monday, May 14, 2007

The Debate of King Milinda


Milinda Book
Originally uploaded by nashara.
  • Highly recommended for scholars and practitioners alike. :-)



  • May you find the wisdom you always search for.

  • And to that old French lady I met at Tuileries Metro Station, one day in 2000, Merci. Thank you for parting with me that piece of wisdom.

  • "Si on cherche, on se trouve."

  • I would never forget your subtle, knowing smile. And your confident footsteps at the Metro platform.

  • Au Revoir, Madamme. Je pense, en fin, que je "le" trouve.

Wednesday, May 02, 2007

Kids Learning Mindfulness, Peace in School Program





  • I saw the following news and I wonder when Thailand, a proclaimed Buddhist country, would be able to have news like this, too?

  • Meanwhile, my heartfelt appreciation and commendation for everybody that got this program going in the states for the kids! May you all be happy, peaceful, and free from suffering!

--------------------------------------------------------------------------------

Source: http://abclocal.go.com/kgo/story?section=drive_to_discover&id=5187016

Written and produced by Jennifer Olney


- A new pilot program at an Oakland elementary school is showing some dramatic results. Children are being trained in a technique called "mindfulness." It's part of the drive to discover how to help students do better in class and in life.

Richard Shankman is teaching these elementary school students how to find calm in a stressful world.

Richard Shankman: "Just take a minute to notice how you are feeling."

This is "mindfulness" - learning to pay attention to the moment, not judging or thinking, just focusing on being present.

Tashayia: "It makes me feel better than I used to."

Ayo, eight-years-old: "It makes me feel happy no matter how bad my day is."

Children are taught to use breathing to help them stay calm in stressful situations.

Laura, 10-years-old: "You have to take at least three breaths."

Both kids and teachers told us it really works.

Mary Taylor, 3rd grade teacher: "The children have been much calmer, much quieter and they seem to just be able to settle down."

Quincie, 10-years-old: "When we are taking a test and we are nervous we just breathe and we calm ourselves down and that lets us, that sends a message to our mind that we can make it."

The "mindfulness" training is a pilot program at Emerson Elementary in Oakland. Mr. Richard, as the children call him, visits each classroom for 15 minutes, twice a week.

Mr. Richard is a Buddhist meditation teacher and he uses some of the same techniques here.

The students practice listening to bells, trying to hear the exact moment when the sound stops.

Candace, eight-years-old: "What's important about the bells is I think is the sounds of them and the motions that you can hear and the vibrations."

Emerson is an inner-city public school where more than 75 percent of the students are identified as socio-economically disadvantaged.

Several teachers told us mindfulness training has arrived at the right place at the right time.

Ed Allen, 4th/5th grade teacher: "Kids need some mechanism to center themselves. The world is so imbalanced in all kinds of ways."

The mindfulness program is actually being paid for by a nearby private school called Park Day School. The technique worked so well at Park, they wanted to share it with the students at Emerson.

Laurie Grossman, Park Day School: "It's beyond my wildest dream to see kids really embracing it and feeling calm and feeling peace."

The hope is to help kids manage better with everything, from the stress of classroom, work, to tension on the playground.

Richard Shankman, mindfulness teacher: "We want them to learn to just start to be more aware of what's happening. 'Oh I'm angry,' and then start to have a little more choice on how they act or react."

Adrian, 11-years-old: "Like when you are mad you can just concentrate so you won't get in a fight."

The mindfulness training at Emerson has been going for about a month. No one claims it's a cure-all for every problem, but many teachers are so enthusiastic about the results, they now want training on how to lead mindfulness themselves.

Teacher: "There's a great peace that has fallen on this class."

If you want to learn more about Mindfulness training in Oakland schools, you can call Laurie Grossman at Park Day School at 510 653-0317, x105 or e-mail her at Laurie@parkdayschool.org .

--------------------------------------------------------